ความปลอดภัยคือสิ่งแรกที่เราคำนึง

นโยบายด้านความปลอดภัยและกระบวนการของ AST

AST คำนึงถึงความปลอดภัยของหน้าที่ภายใต้กฎหมายการขนส่งทางบก และพระราชบัญญัติอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน ที่รับประกันถึงความปลอดภัยและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน รวมไปถึงความปลอดภัยของกิจกรรมการขนส่ง


เลื่อนลง


ทีมสำหรับหน้าที่พิเศษโดยเฉพาะ

ขณะบริหาร


เราคือมืออาชีพ คลิกที่นี่ เพื่อดู!



ติดตามเราได้ทาง SOCIAL NETWORK




นายวิโรจ กุลวิโรตตมะ

ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ



นายสมพร อึ๊งบำรุงพันธุ์

กรรมการผู้จัดการ



นายนธี สิทธิเวช

ผู้จัดการความปลอดภัย


เอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

ดาวน์โหลดเอกสารของเรา


บริษัท เอเซีย สตีล ทรานสปอร์ท (1999) จำกัด

นโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

บริษัท เอเซีย สตีล ทรานสปอร์ต (1999) จำกัด มุ่งมั่นที่จะดูแลความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และส่งเสริมการดำเนินการตามแผนของบริษัท การดำเนินธุรกิจ และกิจกรรมต่างๆ ในกระบวนการขนส่งอย่างมีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานทั้งในชุมชนและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย บริษัทฯ ได้กำหนดนโยบายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ดังนี้

    1. การจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
    2. จัดทำและบำรุงรักษาระบบการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานให้บรรลุถึงความเป็นเลิศ รวมไปถึงการพัฒนาระบบการจัดการอย่างต่อเนื่อง
    3. มุ่งมั่นในการป้องกันและ/หรือดำเนินการควบคุมเพื่อขจัดหรือลดผลกระทบจากผลการบ่งชี้และการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานอย่างเหมาะสม
    4. ส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก และการมีส่วนร่วมในการจัดการและความปลอดภัยของโครงการ อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานให้กับบุคลากรในองค์กรและผู้รับเหมา
    5. เสริมสร้างการติดต่อสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูลด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานให้กับบุคลากรในองค์กรประชุมและหน่วยงานราชการ
    6. จัดหาและสนับสนุนทรัพยากรที่เพียงพอและเหมาะสม
    7. ทบทวนและติดตามนโยบายและโครงการเป็นระยะ

บริษัทถือว่านโยบายและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเป็นหน้าที่สำคัญของผู้บริหารระดับสูงหรือผู้บังคับบัญชา และพนักงานทุกคนจำเป็นต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

ประกาศเมื่อ 10 พฤษจิกายน พ.ศ.2561












ควบคุมด้วยระบบ GPS

ตรวจสอบชั่วโมงพักตลอด 24 ชั่วโมง ควบคุมและจำกัดความเร็วในพื้นที่สีแดง และมีผู้ช่วยระหว่างการขนส่ง


สถานีทำความสะอาด

จัดให้มีจุดทำความสะอาดยานพาหนะการขนส่งระหว่างที่ผู้ขับขี่ได้รับการพักผ่อน


ตรวจสุขภาพประจำปี

จัดให้มีการตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อให้มั่นใจว่าสภาพร่างกายของพนักงานนั้นมีสุขภาพแข็งแรงและพร้อมทำงานอยู่เสมอ


สถานีซ่อมรถบรรทุก

จัดให้มีจุดซ่อมแซมเพื่อเปลี่ยนอะไหล่และบำรุงรักษารถยนต์หว่างที่ผู้ขับขี่ได้รับการพักผ่อน


สถานีบริการน้ำมัน

สถานีบริการน้ำมันของบริษัทช่วยให้ประหยัดเวลาในการเดินทางระหว่างสถานีบริการน้ำมันและที่อยู่อาศัยภายใน


นโยบายการจัดการความล้า

  • หน้าหลัก
  • การจัดการระดับสูง
  • ผู้บริหารและผู้ดูแล
  • พนักงาน / ผู้ขับขี่

     บริษัท เอเซีย สตีล ทรานสปอร์ต (1999) จำกัด มุ่งมั่นที่จะดูแลสุขภาพและความปลอดภัยของบุคลากรทุกคนและผู้อื่นที่ได้รับผลกระทบจากกิจกรรมการทำงานของเรา วัตถุประสงค์ของนโยบายนี้คือการปกป้องสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงาน บริษัท เอเซีย สตีล ทรานสปอร์ต (1999) จำกัด และอื่นๆ โดยการจำกัดผู้ขับขี่ของบริษัทไม่ให้ใช้งานยานพาหนะในขณะที่มีความเหนื่อยล้า
     นโยบายนี้ใช้กับพนักงานของบริษัททุกคนและกำหนดคความรับผิดชอบสำหรับผู้บริหารระดับสูง ผู้จัดการ/หัวหน้างาน และพนักงาน/คนขับ แม้ว่าพนักงานทุกคนจะไม่ได้รับผลกระทบจากความเหนื่อยล้าในลักษณะเดียวกัน แต่จากกรณีศึกษาพบว่าความเหนื่อยล้าอาจนำไปสู่

    • การไม่มีสมาธิ
    • การประสานงานบกพร่อง
    • เป็นภัยต่อการตัดสินใจ
    • ตอบสนองได้ช้าลง

พนักงานของบริษัททุกคนต้องทราบสัญญาณของความเหนื่อยล้าและวิธีรับรู้ว่าอาการเหนื่อยล้าจะส่งผลกระทบต่อความสามารถของผู้ขับขี่ในการใช้ยานพาหนะอย่างปลอดภัยได้อย่างไร และควรดำเนินการอย่างไรเพื่อจัดการกับความเหนื่อยล้า

ประกาศเมื่อ 15 สิงหาคม พ.ศ.2562

ความรับผิดชอบในการจัดการระดับสูง

• การจัดการความรู้ให้แก่พนักงานเกี่ยวกับความเหนื่อยล้าและผลกระทบ
• ติดตามและตรวจสอบรายการจัดการความเหนื่อยล้าทั้งหมด เพื่อให้แน่ใจว่าทุกพื้นที่ปฏิบัติตามนโยบายและขั้นตอนต่างๆ อย่างถูกต้อง
• อบรบเกี่ยวกับการจัดการกับความเหนื่อยล้าและอัพเดทเค้าโครงความคืบหน้า
• การจัดหาและสนับสนุนกิจกรรมการจัดการกับความเหนื่อยล้าให้กับหัวหน้า พนักงาน และผู้ขับขี่
• การตรวจสุขภาพในขั้นตอนการรับสมัครพนักงานขับรถคนใหม่โดยทำการตรวจร่างกาย ตรวจโลหิต ตรวจหัวใจ ตรวจวัดสายตา ฯลฯ และผู้ขับขี่คนใหม่จะต้องมีผลตรวจเป็น ผ่าน หรือสุขภาพดี
• การตรวจสุขภาพประจำปีสำหรับผู้ขับขี่ทุกคนและผลการตรวจต้องอาศัยความเห็นจากแพทย์ในการตรวจสุขภาพ ผลการตรวจที่จะได้รับการพิจารณาคือกลุ่มดังต่อไปนี้: โรคลมชัก โรคเบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ตาบอดสี ฯลฯ

ความรับผิดชอบของผู้บริหารและผู้ดูแล

• ดำเนินการบริหารความเสี่ยงของการจัดการความล้าโดยปรึกษากับเจ้าหน้าที่
• ปฏิบัติตามการจัดการความเหนื่อยล้าทั้งหมดตามรายชื่อที่เหมาะสม การทำงานล่วงเวลา ชั่วโมงพักผ่อนที่เพียงพอและชั่วโมงการขับขี่ที่เหมาะสม
• เฝ้าติดตามทีมงานที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนรถบรรทุกไม่ว่าระยะทางใกล้หรือไกล และการตรวจร่างกายของผู้ขับขี่เพื่อให้แน่ใจว่าพนักงานจะไม่ได้รับความเสี่ยงจากความเหนื่อยล้าโดยทำการตรวจสอบรายวัน รายสัปดาห์ และรายเดือน
• ให้ข้อมูลและให้คำปรึกษา อบรบเกี่ยวกับพฤติกรรมความเมื่อยล้า วิธีป้องกันความเสี่ยง จัดการกับการขับรถเป็นกะ ชั่วโมงทำงาน/ชั่วโมงพักผ่อน และหยุดการทำงานเมื่อพบว่าสุขภาพเริ่มไม่ดี
• ใช้ระบบการจัดการความล้า KPIs และรายงานต่อผู้บริหารระดับสูง

ความรับผิดชอบของพนักงาน/ผู้ขับขี่

• สำเร็จและตรงตามข้อกำหนดในการฝึกอบรมหลักสูตรการจัดการความล้า
• จัดการความเหมาะสมในการทำงานโดยรักษาชั่วโมงการพักผ่อนตามข้อบังคับ รายงานสุขภาพตามจริงต่อหัวหน้าเมื่อพบว่ามีอาการป่วยหรืออาการไม่ดี
• ปฏิบัติตามการตรวจสอบร่างกายของผู้ขับขี่ ใบตรวจสอบรถบรรทุก และใบบันทึกการขับขี่ในแต่ละวัน


โครงสร้างองค์กรความปลอดภัย


นโยบายด้านความปลอดภัย

กดหนดความมุ่งมั่นของผู้บริหารระดับสูงในการปรับปรุงความปลอดภัย กำหนดวิธีการและกระบวนการต่างๆ ที่จำเป็น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านความปลอดภัย


การจัการความเสี่ยงด้านความปลอดภัย

การระบุอันตรายอย่างต่อเนื่องส่งผลให้มีกระบวนการบริหารความเสี่ยงเพื่อกำหนดกลไกการควบคุมที่เหมาะสม


การรับรองความปลอดภัย

ประเมินประสิทธิผลของกลยุทธ์การควบคุมความเสี่ยงที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง


การส่งเสริมความปลอดภัย

รวมไปถึงการฝึกอบรบ การสื่อสาร และการดำเนินการอื่นๆ เพื่อสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในทุกระดับของพนักงาน


การปรับปรุงความปลอดภัย

การดำเนินการตามนโยบายและขั้นตอนการดำเนินการ


ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพที่สำคัญ

จัดตั้งตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพท่ีสำคัญ หรือ KPI และมาตรฐานความปลอดภัยสำหรับความต้องการของลูกค้า เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ

    • ดำเนินการตามแผนกิจกรรมความปลอดภัย


ความมุ่งมั่นในความรับผิดชอบ

การจัดการความรับผิดชอบ

    • นโยบายและความรับผิดชอบด้านความปลอดภัย
    • การพัฒนามาตรฐานการปฏิบัติงาน หรือ SOP


การแก้ไขและปรับปรุง

สาเหตุของปัญหาดังกล่าวจะถูกตรวจสอบ พบ และกำจัดโดยการปรับเปลี่ยนกระบวนการ และมีการประเมินความเสี่ยงอีกครั้ง

    • การฝึกอบรบ


การตรวจสอบความปลอดภัย

สร้างการตรวจสอบการพัฒนาสำหรับงาน

    • วัดและติดตามประสิทธิภาพของวิธีแก้ปัญหา
    • ทบทวนและวิเคราะห์ผลลัพธ์


สถานที่แห่งการปรับปรุงความปลอดภัย

วิธีแก้ไขและขจัดปัญหาความเหนื่อยล้าของผู้ขับขี่


สถานที่แห่งการพักผ่อน

ที่พักอาศัยของ AST

จัดสรรที่พักอาศัยในบริษัทเพื่อให้ประหยัดเวลาในการเดินทาง


สถานที่แห่งความสะอาด

สถานีทำความสะอาด

จัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกและพนักงานในการทำความสะอาดรถบรรทุกขณะที่ผู้ขับขี่ได้รับการพักผ่อน


สถานที่แห่งการเติมเชื้อเพลิง

สถานีบริการน้ำมัน AST

สร้างสถานีบริการน้ำมันของบริษัทเพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการเติมน้ำมัน


สถานที่แห่งสินค้าคงคลัง

คลังสินค้าของ AST

คลังสินค้าจัดจำหน่ายสองเท่า พื้นที่จัดเก็บและบรรทุกมากขึ้นเท่ากับประหยัดเวลามากขึ้น


สถานที่แห่งเทคโนโลยี

การติดตามด้วยระบบ GPS

ห้องคววบคุม GPS ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อติดตามการขนส่ง ควบคุมความเร็ว และตารางเวลาพักผ่อนของผู้ขับขี่ตลอด 24 ชั่วโมง


สถานที่แห่งนวัตกรรม

แอปพลิเคชัน DMA

Driver Monitoring and Assignment หรือ DMA เป็นแอปพลิเคชันที่ออกแบบใหม่เพื่อปรับปรุงการจัดการดานโลจิสติกส์และบุคลากรภายในบริษัทของเรา